ขอน้อมกราบ สักการะบูชา "หลวงพ่อโอภาสี" เว็บไซต์มิใช่เว็บไซต์ของทางวัด จุดประสงศ์ในการจัดสร้าง เพื่อเป็นการเผยแพร่หลักธรรมคำสอนของหลวงพ่อ ด้วยจิตศรัทธาอย่างแท้จริงและไม่หวังผลประโยชน์ใดทั้งสิ้น ขอบารมีของหลวงพ่อคุ้มครองรักษาทุกท่านด้วยเทอญ

วัตถุมงคลของ หลวงปู่โอภาสี อาศรมบางมด เท่าที่คนพอรู้จัก

1,060

เนื้อหาที่ปรากฎนี้ คัดจากจาก หนังสือประวัติหลวงปู่โอภาสี วัดหลวงพ่อโอภาสี

ซึ่งพิมพ์แจกภายในวัดหลวงพ่อโอภาสี

พระเครื่องหรือวัตถุมงคลของหลวงปู่โอภาสี ถึงแม้จะมีออกมาหลายรุ่นหลายรูปแบบ และหลายสำนักก็ตาม แต่ที่นักสะสม แสวงหากันมาก ก็มีเพียงสี่รุ่นเท่านั้น

นอกนั้นก็ต้องศิษย์สายวัดบวรนิเวศและศิษย์เก่าแก่สมัยพุทธญาณโอภาสีใหม่ ๆ นั้น คงจะเก็บสะสมตกทอดกันมาได้หลายรุ่นหลายแบบ ทั้งผ้ายันต์ พระผง รูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่วัดบวรนิเวศเป็นต้นมา

วัตถุมงคลหลายุคหลายสมัยหลายรูปแบบต่าง ๆ ที่ทันหลวงปู่ปลุกเสกหรืออธิษฐานจิต ทุกอย่างแม้แต่แผ่นกระดาษคาถาของท่านก็มีความศักดิ์สิทธิ์ไม่แพ้กันเลย เพราะหลวงปู่ท่านได้ปลุกเสกของไว้ทั้งนั้น แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงพระเครื่องรุ่นสำคัญ ๆ ของหลวงปู่โอภาสี มาให้ทราบกันพอเข้าใจแบบภาษาชาวบ้านกัน

วัตถุมงคลในยุคแรก ๆ ณ วัดบวรนิเวศวิหารของท่าน เท่าที่ทราบกันมี ผ้าประเจียด ธงกันภัย ทรายเสก สายรัดข้อมือ พระผงบูชาไฟ พระพิมพ์ปิดตา ในรูปแบบพระสมเด็จบ้าง นางพญา พระรอด หลวงพ่อโต พระพิมพ์เสมา พระพิมพ์ปิดตา พระพิมพ์โมคัลลาน์ พิมพ์ดอกพิกุล เสื้อยันต์กันภัย วัตถุมงคลต่าง ๆ ในยุคนี้ มีมากมายหลายรูปแบบ แต่เท่าที่พบเห็นและทราบประวัติบ้าง ก็มีให้เห็นดังที่กล่าวข้างต้น จะมีทั้งเนื้อผงและเนื้อชินตะกั่ว บล็อกพระส่วนมากจะเป็นบล็อกทำจากไม้ แกะเป็นแม่พิมพ์ ด้านหลังของพระต่าง ๆ จะมีรอยมือหลวงพ่อจารด้วยก้านธูปบ้าง ไม่จารด้านหลังบ้าง แล้วแต่โอกาสและเวลาในการทำแจกเป็นสำคัญ แต่เท่าที่คนเก่า ๆ เล่าต่อกันมาว่ามีมากมายหลายพิมพ์กันเลย แต่หาพบ และหาหลักฐานมายืนยันได้ยากมาก นอกจากคนที่ได้จากมือของท่านแล้วก็ได้ตกทอดกันมา ถึงจะพอเชื่อถือกันได้บ้าง แต่ก็ไม่เสมอไป

วัตถุมงคลในยุคกลาง ๆ ยุคปากพนังกับยุคอาศรมบางมด ก็มีมากมายหลายรุ่นเช่นกัน ออกที่ปากพนังก็มี ปิดตาในรูปแบบต่าง ๆ ล็อกเก็ตในรูปแบบต่าง ๆ บ้างลูกสะกดบ้าง ตะกรุดบ้าง เหรียญบ้าง เพราะหลวงปู่ได้เดินทางไปเยี่ยมบ้านเกิดหลายครั้งเหมือนกัน การสร้างวัตถุมงคลที่ปากพนัง ศิษย์ที่ปากพนังก็ทำขึ้น ในรูปแบบต่าง ๆ แล้วให้ท่านอธิษฐานจิตให้

ส่วนของสำนักพุทธญาณโอภาสี บางมดนี้ จะออกมามาก หน่อยในรูปแบบต่าง ๆ และคนส่วนมากจะพบเห็นและทราบประวัติกันได้ดีกว่า วัตถุมงคลยุคของวัดบวรนิเวศ หรือยุคปากพนังบ้าน เกิดของท่าน ยุคอาศรมบางมด ก็มีผ้ายันต์รูปแบบต่าง ๆ มีจารด้วยมือท่านบ้าง และรูปพระพุทธเจ้า และพระสารีบุตร โมคคัลลาน์ ผ้ายันต์ รูปครุฑแบกเสมา เสื้อยันต์ พระผงในรูปแบบต่าง ๆ แบบวัดบวรนิเวศ แต่ด้านหลังส่วนมากจะมีอักษรย่อ จ.ป.ร. พิมพ์กดด้านหลังพระอยู่เสมอ มีทั้งเนื้อผงและเนื้อชินตะกั่ว และมีรูปแบบหล่อต่าง ๆ ขนาดของหลวงปู่โอภาสี และรูปขนาดต่างๆ ของหลวงปู่ ล็อกเก็ตกลมสีชมพู ล็อกเก็ตรูปไข่ ล็อกเก็ตรูปกระดาษ เบี้ยหิน รูปครุฑ ลูกแก้วขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ผ้ายันต์ริ้วจีวรของหลวงปู่ กระดาษยันต์พลาสติก ยันต์คาถา ดอกพิกุลถัก ลูกเล็ก กลาง ใหญ่ มีทั้งเงิน ทอง นาค แผ่นปั้มหลวงปู่ เหรียญยันต์ดวงหลวงปู่ สตางค์แดงรูหนึ่งสตางค์ แผ่นป้ายพลาสติกหลายสีด้านหลังยันต์ สวัสดิกะ เหรียญกาชาด องค์ครุฑบูชา องค์ครุฑขนาดห้อยคอ พระกริ่งอรหัง และพระกริ่งในรูปแบบต่าง ๆ พลาสติกรูปเซียนแบบใส และแบบหลายสี แผ่นยันต์ตะกั่วภาษาขอมคาถาของหลวงปู่โอภาสี วัตถุมงคลต่าง ๆ ในรูปแบบของหลวงพ่อกบ วัดถ้ำเขาสาริกา จังหวัด ลพบุรี ล้วนเป็นเหรียญตายของหลวงพ่อกบ แต่หลวงปู่โอภาสีท่าน ปลุกเสกเหรียญคุ้มภัย

เหรียญกลมทองแดงแบบมีห่วงเชื่อม และไม่มีห่วงเชื่อม ลักษณะเป็นเหรียญกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒.๒ ซม. ขอบเหรียญเป็นแบบสองชั้น ชั้นนอกหนากว่าชั้นใน มีรูปหลวงปู่โอภาสีอยู่ตรงกลางเหรียญ บนหน้าตรงคล้องประคำ ด้านล่างเหรียญมีรูปกากบาท ด้านหลังตรงขอบเหรียญเป็นเส้นหนาชั้นเดียว รอบ ๆ เหรียญเป็นอักขระคาถาประจำตัวของท่าน เขียนไว้ว่า “อิติ สุคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง” ตรงกลางเหรียญด้าน หลังมีเครื่องหมายสวัสดิกะ ซึ่งนำมาใช้แทนรูปยันต์ เครื่องหมาย สวัสดิกะนี้ หมายถึงความเป็นสิริมงคล และสังสารวัฏ อันได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหรียญรุ่นนี้สร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สร้างในปี พ.ศ.๒๔๙๕ ด้านหน้ามีบล็อกเดียว ส่วนด้านหลังมีสองบล็อก คือพิมพ์ตัวหนังสือใหญ่และพิมพ์ตัวหนังสือเล็ก เรียกสั้น ๆ ว่า ป. เล็ก ป. ใหญ่ ส่วนเนื้อเงินอาจมีก็ได้ แต่พบเห็นกันน้อยมาก ไม่แน่นอนนัก

ส่วนความแตกต่างของทั้งสองพิมพ์ คือ พิมพ์ด้านหลัง ตัวหนังสือเล็กพื้นหลังเรียบแบน ตัวอักขระคาถาเล็กกว่า ตัว ป. (ปะฐะวี) เส้นหาง ป. จะมีลักษณะกลม และตัวไม้หันอากาศที่ อะระหัง จะไม่มีหัว

ส่วนพิมพ์ด้านหลัง ตัวหนังสือใหญ่ พื้นหลังตรงกลางนูน ตัวอักขระคาถาใหญ่กว่า ตัว ป. (ปะฐะวี) เส้นหาง ป. แบน ตัวไม้ หันอากาศที่ อะระหัง มีหัว

ส่วนตำหนิด้านหน้าของเหรียญ ที่หางตาข้างขวามีเส้นขีดลึกลงไป ๑ ขีด ขอบตาด้านบนข้าง ๆ มีเส้นแบบตาสองชั้นในร่องในหูด้านซ้าย มีเส้นพิมพ์แตกเป็นขีดนูน ในปากมีฟันคู่หน้า ๑ คู่

ส่วนเหรียญรุ่นสองหลังพญานาค ลักษณะเป็นรูปของน้ำเต้า กลางเหรียญขอดเว้าเข้าด้านใน ด้านบนมีรอยหยัก ๓ ชั้น ตรงกลางเหรียญด้านหน้า มีรูปครึ่งองค์หลวงปู่โอภาสีในรูปหลวงปู่ตรงใต้หน้าอกมีคำว่า “โอภาสี” ด้านหลังเหรียญ ด้านบนมีตัวอักษร อ. มีเส้นรัศมีพุ่งออกมาจากตัว อ. ๑๖ เส้น ตรงกลางมียันต์ด้านข้างยันต์ทั้งสอง

ข้าง ๆ จะมีรูปพญานาคขนด ด้านละ ๑ ตัว ด้านล่างเหรียญเขียนไว้ว่า สองสี่เก้าหก เป็นตัวเลขภาษาไทย ๒๔๙๖

เหรียญรุ่นสามมีด้วยกันสองแบบ คือ แบบแรก จะเรียกกันว่า รูปพัดยศ ใบสาเก พุ่มข้าวบิณฑ์ ลักษณะด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ครึ่งองค์ ใต้หน้าอกจะมีคำว่าหลวงพ่อโอภาสี ส่วนข้าง ๆ ขอบเหรียญเป็นลวดลายกนกทั้งหมด ด้านหลังเหรียญจะเหมือนกับด้านหลังเหรียญรุ่นสอง จะแตกต่างกันก็ตรงตัวนาคจะใหญ่กว่าทั้งคู่เลย จึงมักจะเรียกกันอีกว่า รุ่นนาคคู่ใหญ่ อีกแบบ คือ เหรียญรุ่นสามรูปอาร์ม ก็สร้างกันในปีเดียวกัน คือ พ.ศ.๒๔๙๗ เจาะรูใส่ห่วงในตัวเหรียญเลย มีทั้งทองแดงธรรมดา และทองแดงรมดำ และด้านหลังมีด้วยกันสองบล็อกสองแบบ คือ มีลูกกรง กับไม่มีลูกกรง และเลขเจ็ดไทยหางยาว เลขเจ็ดไทยหางสั้น ซึ่งบล็อกไม่มีลูกกรงจัดสร้างก่อน และบล็อกมีลูกกรงสร้างทีหลัง แต่ได้รับความนิยมมากกว่า

เอกลักษณ์ของบล็อก ด้านหน้ามีบล็อกเดียว มองดูเหรียญจะเห็นหน้าผากหลวงปู่เป็นแอ่งบาง ๆ ปลายผมแทงลงมาที่ขอบขมับ แอ่งยาวที่ศีรษะด้านข้าง โหนกคิ้วนูน ยอดแหลมเป็นสโลปลาดลง สันจมูกหลวงปู่แผ่ว ๆ ริมฝีปากบนและล่างมีเส้นขอบ และเห็นฟัน ขอบโหนกแก้มหันข้างเป็นร่องไฝ ใกล้ตัว ภ.สำเภามีเส้นหนาม เล็ก ๆ

ด้านหลังบันไดมีลูกกรง ๕ ซี่ ฉัตรบนศาลามีเส้นขอบด้านใน สามเหรียญใต้ดินครุฑยาว เส้นหน้าจั่วจากปีกครุฑมีสามเส้น เป็นเม็ดไข่ปลา

ด้านหลังบันไดไม่มีลูกกรง ราวบันไดไม่มีลูกกรง ฉัตรบนศาลาไม่มีขอบด้านใน (เว้นแต่เส้นล่างสุด) สามเหลี่ยมใต้ตีนครุฑ สันเส้นหน้าจั่วจากครุฑมีสามเส้นเป็นเส้นตรง

เหรียญทองแดงรมดำ มักพบเจอของปลอมมากกว่าเหรียญทองแดงธรรมดา

รุ่นสี่ เป็นรุ่นสุดท้าย เป็นครุฑแบกเสมา กลม รูปไข่ เหรียญรุ่นนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ ลูกศิษย์ขอสร้าง หลวงปู่โอภาสี ท่านพูดออกมาว่า ต่อไปนี้คงจะไม่มีโอกาสสร้างอีกแล้ว ทุกรุ่นที่ผ่านมา ส่วนมากจะเป็นรูปท่าน แต่รุ่นสุดท้ายท่านบอกว่าต้องเป็นรูปครุฑ แบกเสมา และยันต์ตัวของท่าน

ด้านหน้า รัศมีขีดเหนือปลายยอดเสมาเส้นแตก ตัว “อุ” มีจุดที่ข้างหัวด้านนอก หัวของตัวครุฑมีขีดยื่น เท้าครุฑมีเส้นกลาง ๆ พุ่งไปยังขอบ มีเส้นแตกเฉียงจากกนกไปยังรัศมีด้านบน รัศมีด้านซ้ายเส้นที่ห้าเป็นเส้นคู่ มีเส้นแตกจากขาโต๊ะ ไปยังรัศมีเส้นที่สอง ปลายรัศมีข้างตัว อุ มีติ่งเล็ก ๆ ด้านหลัง ๆ มุมยังหาง “อุณาโลม” มีขีดเกิน มีจุดอยู่ในยันต์เฑาว์ หางเลข ๔ มีติ่ง มีขีดที่ห่วงหูเหรียญ ขมวดยันต์ด้านขวามีขีดเกิน ปลายรัศมีแต่ละเส้นจะมิได้ยื่น

ทั้งหมดนี้ เป็นจุดสังเกตในการพิจารณาที่เห็นชัดเจนมาก แต่จริง ๆ แล้วยังมีอีกหลายตำแหน่ง การดูตำหนิบางเส้นบางจุดต้องตะแคงเหรียญหามุมสว่างใช้กล้องส่องดู เพราะเส้นหรือจุดต่าง ๆ จะบอบบางมาก

เหรียญทองแดงส่วนใหญ่พบปลอมน้อยมาก แต่ถ้าเป็นรมดำจะพบปลอมมากเหมือนกัน เหรียญรุ่นสุดท้ายนี้จะแจกพร้อมกับผ้ายันต์ 5 สีต่าง ๆ กันไป ในวันแจกนั้น ลักษณะผ้ายันต์เป็นรูปครุฑแบกเสมา มีคาถาหลวงปู่ล้อมรอบรูปครุฑแบกเสมาเป็นวงกลม

ที่มา : หนังสือประวัติหลวงปู่โอภาสี วัดหลวงพ่อโอภาสี

วัตถุมงคลที่สร้างสมัยยุคหลวงพ่อโอภาสี จากหนังสือชวนภาษิต

Comments are closed.